ลัดดา คงเดช ผู้ประสานงานคณะละครยายหุ่น (ครูองุ่น มาลิก) บอกว่า การประดิษฐ์หุ่นมือ เหมาะสำหรับเด็กอายุ 1-7 ขวบขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้กล้ามเนื้อมือมัดเล็กมัดใหญ่ ที่มีเส้นประสาทเชื่อมโยงไปยังสมองช่วยให้เกิดการพัฒนาทางความคิดได้ดี เด็กๆ ได้ทำงานศิลปะ ซึ่งเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ช่วยเปิดจินตนาการให้กับเด็ก ทำให้เขามีสมาธิมากขึ้น ใจเย็น มีความกล้าแสดงออก เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง
ร้านร้านม่อนแสงดาว www.go2pasa.ning.com/ |
การทำงานประดิษฐ์แบบง่ายๆ อย่างการทำหุ่นนิ้วมือ โดยการวาดรูปตัวละครต่างๆ ลงบนนิ้วมือ เพื่อประกอบการเล่านิทานได้ หรือการทำหุ่นกระดาษแบบง่ายๆ ที่เน้นการวาด ตัด ปะ ติดกระดาษและผ้าเป็นรูปแบบต่างๆ ทั้งคน สัตว์ ต้นไม้ หรือรูปอะไรก็ได้ตามจินตนาการของลูกน้อย นอกจากนี้ พ่อแม่สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ง่ายภายในบ้าน อย่างเช่น แกนกระดาษทิชชู กระป๋อง หรือกล่องนม ขวดน้ำพลาสติก ฯลฯ มาทำเป็นหุ่นมือรูปร่างต่างๆ ตามใจชอบ และอย่าลืมชักชวนลูกให้เก็บด้วย เพราะการมีส่วนร่วมจะทำให้เขาสนุก ตื่นเต้นและอยากทำจริงๆ‘ได้หุ่นมือ มาเล่านิทาน’
ลัดดา บอกว่า การเล่านิทาน เหมาะกับครอบครัวมากๆ เพราะสามารถทำร่วมกันได้ และเป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่พ่อแม่ หรือแม้กระทั่งคุณครูสามารถทำได้ เพื่อการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กต้องเริ่มจากผู้ใหญ่ก่อน เริ่มจากเล่านิทานจากหนังสือให้ลูกฟัง โดยช่วงอายุ 6 ขวบแรก จะเป็นการเสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อยได้เป็นอย่างดี เพราะการที่ลูกฟังเสียงที่มีจังหวะจะโคน จากการอ่านของพ่อแม่ จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง รวมทั้งเกิดความผูกพันด้านความรู้สึกและจิตใจที่ดีกับเด็กด้วย
อันที่จริงแล้ว เด็กเป็นผู้เล่านิทานได้ดีมาก เพราะเขาจะมีจินตนาการกว้างไกล การฝึกให้เด็กได้พูดและเล่าเรื่องจะช่วยให้เขามีความมั่นใจในตนเอง นอกนจากนี้ พ่อแม่ยังใช้หุ่นนิ้วจากกระดาษ หรือหุ่นที่ร่วมกันประดิษฐ์จากเศษวัสดุต่างๆ รวมถึงการวาดรูปบนนิ้วมือมาใช้ประกอบการเล่านิทานกับลูกได้ หรือสอนให้ลูกวาดรูปจากนิทานที่เล่าได้ด้วย และวาดรูปให้เขาเล่านิทานให้ฟังได้อีกด้วย“การเล่านิทานร่วมกันภายในครอบครัว ทำให้เด็กได้ใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ และยังเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย สมอง ที่จะพัฒนาและเกิดกระบวนความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ แม้แต่ครูกับนักเรียนสามารถปรับใช้เป็นกิจกรรมประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียนได้” ลัดดา เน้นย้ำบางครั้ง เราอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะพ่อแม่อาจไม่มีเวลามากนัก แต่การสละเวลาเพียงน้อยนิด เล่านิทานให้ลูกฟังก่อนนอน จะเป็นการเสริมทักษะด้านภาษา กระตุ้นพัฒนาการที่ดีด้านอีคิวและไอคิว ทำให้ลูกหลับสนิท และยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย
เครดิตบทความ ซ : (จากบทความ‘ปิดเทอมสร้างสรรค์ ทำหุ่นมือ เล่านิทานสุขใจ’ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)http://www.thaihealth.or.th/ )เครดิตรูปภาพจาก ระแนงไม้ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ranangmai&month=09-2009&date=11&group=5&gblog=16ระแนงไม้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น